http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

5 อันดับอาหาร "ไขมันทรานส์สูง" เสี่ยงโรคหัวใจ

5 อันดับอาหาร "ไขมันทรานส์สูง" เสี่ยงโรคหัวใจ  

รู้จัก 5 อันดับอาหารใกล้ตัวที่มี "ไขมันทรานส์"สูงเกินมาตรฐาน เช่น มาการีน คุกกี้ ขนมเบเกอรี่ต่างๆ โดยผู้ที่บริโภคในปริมาณมาก เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษาประกาศห้ามผลิต จำหน่าย และนำเข้าในอีก 6 เดือนข้างหน้า

วันนี้ (16 ก.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศห้ามผลิต จำหน่าย และนำเข้ากรดไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้อีก 180 วันหรือ 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนว่าส่งผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด 

สำหรับไขมันทรานส์มีอยู่ 2 ชนิด คือ ไขมันทรานส์จากธรรมชาติซึ่งพบได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง หรือสัตว์สี่กระเพาะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์จำพวกนี้มีโอกาสที่จะเจอไขมันทรานส์ตามธรรมชาติได้ เช่น นม เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน แต่จะพบในปริมาณที่น้อยมาก 

ส่วนอีกชนิด คือ ไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปในน้ำมันพืชซึ่งกระบวนการดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้น เพื่อทดแทนการใช้ไขมันสัตว์ที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันหมู เนื่องจากไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดคอเลสเตอรอล โดยกระบวนการเติมไฮโดรเจนดังกล่าวช่วยให้คุณสมบัติของน้ำมันพืช จากเดิมที่มีสภาพเป็นของเหลว เปลี่ยนเป็นแข็งตัวมากขึ้น อีกทั้งช่วยเพิ่มความคงตัวของอุณหภูมิ ทำให้น้ำมันมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการทอด จึงมีอาหารหลายชนิดใช้ไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เช่น เนยขาว มาการีน คุกกี้ และขนมเบเกอรี่ต่างๆ

5 อันดับ อาหารมีไขมันทรานส์มากที่สุด

ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ และหัวหน้าโครงการวิจัยการสำรวจ สถานการณ์การปนเปื้อนของกรดไขมันชนิดทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลสำรวจปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร โดยการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 ตัวอย่าง พบว่า อาหารที่มีการปนเปื้อนไขมันทรานส์เป็นอันดับต้นๆ ได้แก่

  1. มาการีน พบว่ามีปริมาณไขมันทรานส์ 0.08 – 15.32 กรัมต่อ 100 กรัม
  2. โดนัททอด พบว่ามีปริมาณไขมันทรานส์ 0.02-5.14 กรัมต่อ 100 กรัม
  3. พาย พบว่ามีปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 – 4.39 กรัมต่อ 100กรัม
  4. พัฟและเพสตรี พบว่ามีปริมาณไขมันทรานส์ 0.01 – 2.46 กรัมต่อ 100 กรัม
  5. เวเฟอร์ช็อกโกแลต พบว่ามีปริมาณไขมันทรานส์ 0.06 – 6.24 กรัมต่อ 100กรัม 

ซึ่งการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยก่อนหน้านี้ องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ประกาศห้ามใช้น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ในการผลิตอาหาร เนื่องจากได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก็มีการออกกฎให้ระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการเช่นกัน รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบด้วย

วิจัยชี้ "ไขมันทรานส์" เสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือด

ขณะที่ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การบริโภคไขมันทรานส์ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีรายงานวิจัยพบว่า การให้ผู้เข้าร่วมทดลองบริโภคไขมันทรานส์แทนการบริโภคไขมันอิ่มตัวเพียงร้อยละ 1 ของพลังงาน พบระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีสูงขึ้น ในขณะที่ระดับคอเลสเตอรอลดีต่ำลง

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า การบริโภคไขมันทรานส์แทนคาร์โบไฮเดรตเพียงร้อยละ 2 ของพลังงาน จะมีความเสี่ยงสูงถึงร้อยละ 23 ที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงก็มีงานวิจัยของประเทศเดนมาร์ก พบว่า การบริโภคไขมันทรานส์น้อยลงมีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจทั้งในกลุ่มเพศชายและเพศหญิง

โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการบริโภคไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรมทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้นร้อยละ 18 และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณร้อยละ 42 ในขณะที่การบริโภคไขมันทรานส์ที่มาจากแหล่งธรรมชาติไม่มีผลต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

ด้วยเหตุนี้จึงควรบริโภคไขมันทรานส์ในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคไขมันทรานส์ ไม่เกิน 2.2 กรัมต่อวัน หรือ 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

https://news.thaipbs.or.th/content/273404

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,746,190
Page Views2,011,373
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view